เริ่มต้นเรียนอย่างไม่รู้อะไรมาก่อนเลย!

เว็บบล็อกนี้เกิดขึ้นจากการอยากเรียนภาษาจีนด้วยตนเอง หลังจากที่ได้เคยเรียนที่สมาคมจงหัว ในครั้งนั้นได้เรียนภาษาจีนเบื้องต้นในระบบจู้อิน แต่พบข้อจำกัดด้านหนังสือและเอกสารภาษาจีนในท้องตลาดทั่วไปจะใช้ระบบพินอิน ทำให้เกิดอุปสรรคการทำความเข้าใจจึงตัดสินใจไปเรียนภาษาจีนเบื้องต้นใหม่อีก ครั้งที่ม.หัวเฉียวในระบบพินอิน เมื่อทำความเข้าใจระบบออกเสียงได้แล้วก็จะทำให้เราสามารถหาหนังสือ ซีดีและมัลติมีเดียอื่น ๆ มาส่งเสริมการเรียนได้ง่ายขึ้น และเชื่อว่ามีอีกหลายต่อหลายคนอยากเรียนภาษาจีนแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง เว็บบล็อกนี้จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้สนใจ แต่ต้องบอกก่อนว่าเว็บบล็อกนี้พยายามจัดระบบการเรียนแบบธรรมชาติ เลียนแบบการเรียนรู้ของเด็กเล็กที่เขาสามารถพูดได้จากการฟังและเด็กจะเลียน แบบเสียงที่ได้ยิน ดังนั้นโปรดอย่าคาดหวังว่าจะได้เรียนพินอินก่อน แต่จงลองนึกกลับไปเป็นเด็กอีกครั้งว่าคำแรกที่เด็กคนนึงพูดออกมาได้มันเกิด จากทักษะอะไร คิดว่าตัวเองเป็นเด็กอายุ 3 ขวบแล้วมาเริ่มเรียนภาษาจีนไปพร้อม ๆ กัน

บทที่ 2

อะไรคือจู้อินและพินอิน

เป็นระบบสัทอักษรสำหรับการถอดเสียงในภาษาจีน โดยเฉพาะภาษาจีนกลาง เป็นระบบกึ่งพยางค์ที่มีใช้อย่างกว้างขวางในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ประกอบด้วยอักษร 37 ตัวและวรรณยุกต์ 4 ตัว ซึ่งเพียงพอที่จะใช้ถอดเสียงที่เป็นไปได้ในภาษาจีนกลาง

อักษรจู้อินถูกเขียนให้เหมือนกับอักษรจีนทั่วไป รวมทั้งกฎเกณฑ์ของลำดับการขีดและตำแหน่ง ปกติอักษรจู้อินจะเขียนไว้ที่ด้านขวาของอักษรจีนตัวนั้นเสมอ ไม่ว่าอักษรจีนจะเขียนแนวตั้งหรือแนวนอน โดยทางเทคนิคแล้วการเขียนแบบนี้เรียกว่าอักษรประกอบคำ (ruby character) และพบได้น้อยมากที่อักษรประกอบคำจะไปปรากฏอยู่ข้างบนเมื่อเขียนตามแนวนอน กล่องแสดงสัญลักษณ์มักจะมีอักษรจู้อินสองหรือสามตัว (ซึ่งตัวมันเองนั้นมีขนาดพอดีกับสี่เหลี่ยมจัตุรัส) วางซ้อนกันในแนวตั้ง ทำให้กล่องของอักษรจีนหนึ่งตัวมีความยาวเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

เครื่องหมายวรรณยุกต์ของจู้อินมี 4 ตัว ได้แก่ <ˊ> แทนเสียงที่สอง, <ˇ> แทนเสียงที่สาม, <ˋ> แทนเสียงที่สี่, และ <˙> แทนเสียงที่ห้า (เสียงเบา) ในภาษาจีนกลาง สำหรับเสียงที่หนึ่งจะไม่มีการเขียนวรรณยุกต์กำกับ ระบบพินอินได้นำเอาวรรณยุกต์เหล่านี้ไปใช้ โดยตัดรูปวรรณยุกต์เสียงที่ห้าออก แล้วเพิ่มรูปวรรณยุกต์ <¯> สำหรับเสียงที่หนึ่งแทน


ตารางแสดงจู้อินพื้นฐาน เทียบกับพินอิน

จะเห็นได้ว่าจู้อินมีลักษณะเป็นอักษรภาพคล้ายอักษรจีน จึงทำให้เราไม่สับสนกับการออกเสียงที่คุ้นเคยในภาษาอังกฤษ  และการออกเสียงที่ชัดเจนโดยการเรียนรู้ในระบบจู้อินจะไม่กระทบต่อความเข้าใจในการศึกษาระบบพินอิน เพราะเสียงพื้นฐานของทั้งสองระบบนี้ใช้เหมือนกัน มีตัวที่เทียบเคียงกันทุกตัว

สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า "เรียนจู้อินเพื่อให้หลุดจากการติดการอ่านแบบภาษาอังกฤษ" 

 ดังนั้นขอให้เรามาเริ่มดูคลิปวีดีโอเรื่องนี้กันก่อนเพื่อให้ทราบบทบาทของพินอิน



ความสำคัญของพินอิน

จากคลิปสอนจะเห็นได้ว่าใต้อักษรจีน จะมีอักษรโรมันแบบอังกฤษและเส้นกำกับเสียงวรรณยุกต์เป็นเครื่องมือช่วยในการออกเสียง เพราะเราไม่สามารถอ่านอักษรจีนที่มีหลาย ๆ ขีดอย่างเข้าใจได้ทันที  ถ้าเปรียบเทียบว่าฝรั่งหัดภาษาไทยเริ่มแรกเขาก็จะไม่รู้ว่า "ก" มีเสียงอ่านเป็น "กอ"  , "ข"  ออกเสียงเป็น "ขอ"  


ลักษณะเดียวกัน ในเริ่มแรกเราไม่สามารถเข้าใจว่า  我  อ่านว่า "หว่อ" และในระดับสากลเขาก็ไม่สามารถแปลออกมาเป็นภาษาไทยเพื่อให้คนไทยเท่านั้นเข้าใจได้ ในวงกว้างที่คนทั่วโลกใช้ภาษาอังกฤษจึงเกิดการคิดค้นระบบพินอินขึ้นมาเพื่อให้ทั่วโลกได้เรียนรู้ภาษาจีนในระบบเดียวกัน เราจึงต้องเรียนรู้ "พินอิน" ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะทำให้เราอ่านและออกเสียงภาษาจีนได้ ซึ่งพินอินที่ใช้กำกับการออกเสียงคำนี้คือ  wǒ

สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถ่ายถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย  (ที่มา : วิกิพีเดีย)


ตัวอย่างพินอิน(คำในวงเล็บ)  ที่ใช้กำกับการอ่านคำจีน

    (nǐ)
可     (kě)  
看    (kàn)
到    (dào)
爱       (ài)

 และถ้าเราสามารถอ่านและออกเสียงอินพินได้ เราก็จะสามารถสื่อสารเป็นภาษาจีนได้ เช่นหากเราอยากบอกรักใครสักคน เราก็มักจะได้ยินเพลงที่ร้องในไทยว่า "หว่ออ้ายหนี่"  ซึ่งก็มาจาก   (wǒ) (ài) (nǐ)”

คงจะพอเข้าใจความสำคัญของพินอินกันบ้างแล้วนะคะสำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้ใหม่




คุณสามารถเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนได้ในหน้าเพจ เฟซบุ้คส์ โดยการกด Like  นะคะ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อุปกรณ์สริม